[

อยู่อย่างเหงาๆ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่13

1.จงอธิบายถึงธรรมชาติและแหล่งกำเนิดเสียงมาพอเข้าใจ
ตอบ ธรรมชาติของเสียง เสียงเป็นคลื่นกลชนิดคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ และสามารถถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงไปในตัวกลางยืดหยุ่น เช่น อากาศ ของเหลว ของแข็ง เป็นต้น เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศไปได้ เสียงเกิดขึ้นได้อย่าง จากการศึกษาพบว่าเมื่อวัตถุเกิดการสั่นจะเกิดสียงขึ้น เช่น การสั่นของเส้นเสียงในกล่องเสียง ขณะมีการเปล่งเสียงพบว่าเมื่อจับที่ลำคอจะรู้สึกว่ามีการสั่นภายในลำคอหรือการสั่นของสายกีตาร์ เมื่อสายกีตาร์สั่นจะเกิดเสียง แต่เมื่อสายกีตาร์หยุุดสั่น เสียงก็จะเงียบไป

จากการศึกษาพบว่าการได้ยินเสียงมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.แหล่งกำเนิด
2.ตัวกลาง
3.ผู้ฟัง
แหล่งกำเนิดเสียง เสียงเกิดจาก การสั่นของวัตถุ เราสามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยวิธีการ ดีด สี ตีและเป่า เมื่อแผล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วย โดยมีความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง การสั่นของลำอากาศ ทำให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลแตกต่างไปจากเดิม บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปอยู่ชิดติดกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงอัด บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะอยู่ห่างกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงขยาย ซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียงตรงกลางส่วนอัดและตรงกลางส่วนขยายโมเลกุลอากาศจะไม่มีการเคลื่อนที่(การกระจัดเป็นศูนย์) แต่ตรงกลางส่วนอัดความดันอากาศจะมากและตรงกลางส่วนขยายความดันอากาศจะน้อยมาก


2.จงอธิบายหลักการและองค์ประกอบของการขยายเสียงให้ถูกต้อง
ตอบ การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
2.1 แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ

2.2 เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง
2.3 ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได้
การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
-Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ
-Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)
-Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน


3.จงอธิบายหน้าที่และชนิดของไมโครโฟนอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง
ชนิดของไมโครโฟน แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง


4.จงอธิบายและหลักการและส่วนประกอบของเครื่องขยายเสียงให้ถูกต้อง
ตอบ หน้าที่ของเครื่องขยายเสียงถ้าเปรียบเทียบ ก็เหมือนกับปั๊มน้ำ คือมีหน้าที่ปั๊มให้น้ำทางด้านอินพุทที่ไหลเข้ามาออกไปทางด้านเอาท์พุทด้วยความแรงและเร็วเช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องขยายเสียงมันมีหน้าที่ปั๊มให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามาออกไปทางด้านเอาท์พุทด้วยความแรงและเร็วเครื่องขยายเสียงจะขับดันสัญญาณด้านเอาท์พุทตามสัญญาณด้านอินพุทเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเราจะแบ่งวงจรเครื่องขยายเสียงออกเป็น 2 ส่วน วงจรส่วนที่หนึ่งคือ วงจรทางเอาท์พุทได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่หรือจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงถ้าเราใช้วิธีเสียบปลั๊กไฟที่บ้านไฟที่ได้เป็นไฟกระแสสลับ จะต้องแปลงไฟเป็นไฟตรงก่อนจึงจะป้อนให้กับวงจรเครื่องขยายเสียงได้
วงจรส่วนที่สองคือ วงจรอินพุท ซึ่งจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากเทปหรือเครื่องเล่นซีดี ดีวีดี แผ่นเสียง และไมโครโฟนสัญญาณที่เข้ามายังเป็นลูกคลื่นลูกเล็กๆไม่สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้ อย่างไรก็ตามถ้านำหูฟังไปต่อไว้ สามารถได้ยินเสียงเบาๆแต่เมื่อนำสัญญาณนี้ผ่านเข้าเครื่องขยายเสียงจะถูกขยายให้มีขนาดมากขึ้นสามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้



ส่วนประกอบด้านหน้าของเครื่องขยายเสียง ได้แก่ - ปุ่มควบคุม (Control Knobs) Mic.1 Mic.2 Mic.3 เป็นปุ่มควบคุมการรับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากไมโครโฟน แต่ละตัวเพื่อทำการปรับความดังของไมโครโฟนแต่ละตัวแยกอิสระจากกัน - ปุ่มควบคุม Phono เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Phonograph) - ปุ่มควบุคม Aux. เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจาก Auxiliary เช่นเครื่องบันทึกเสียงที่มีการขยายสัญญาณกำลังต่ำมาก่อนแล้ว หรืออาจใช้ควบคุมอุปกรณ์รับสัญญาณเข้าอื่นๆ ที่ไม่มีปุ่มควบคุมอยู่ด้านหน้าด้วย - ปุ่มควบคุมการปรับแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และแหลม (Treble) หรือปุ่ม Tone Control ใช้เพื่อปรับเสียงทุ้มแหลม ของเสียงให้มากขึ้น ในเครื่องขยายเสียงบางรุ่นอาจรวม ปุ่มปรับแต่ทุ้มแหลมนี้ไว้ในปุ่มเดียวกันก็เป็นได้ - ปุ่มควบคุมการขยายกำลัง (Master volume) ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณให้มีเสียงดังเบา ก่อนจะออกทางลำโพง ซึ่งปุ่มนี้จะทำหน้าที่ร่วมกับปุ่มอื่นๆ ทุกปุ่มข้างต้นด้วย ดังนั้นการที่ปรับปุ่ม Master volume ดังเบา ก็จะทำให้เสียงที่ออกทางลำโพงดังเบาตามปุ่มนี้เป็นสำคัญ - สวิตช์ไฟฟ้า (Switch) ใช้เปิด (On) เมื่อต้องการเริ่มใช้งาน และใช้ปิด (Off) เมื่อเลิกใช้งาน - หลอดไฟหน้าปัด (Pilot lamp) หลอดไฟฟ้าแสดงให้ทราบว่า มีไฟฟ้าเข้าเครื่องฯ หรือไม่

5.ระบบของเครื่องขยายเสียงมีกี่ระบบอะไรบ้าง
ตอบ 2 ระบบ
1.ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย
2.ระบบเสียงสเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา



6.จงอธิบายหน้าที่และประเภทของลำโพงให้ถูกต้อง
ตอบ ลำโพง (Lound Speaker)
เป็นอุปกรณ์ในภาคสัญญาณออก (Output Signal) ที่มีหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าสัญญาณเสียงที่ขยายมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นเสียง ซึ่งลำโพงที่ใช้กันนั้นมีหลายชนิด หลายขนาด เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและทำจากวัสดุหลายอย่าง เช่น ทำด้วยโลหะ ไม้ โพลิเมอร์ ไฟเบอร์กลาส ประกอบเป็นตู้ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หรือมีรูปร่างต่าง ๆ กันไป


ชนิดของลำโพง
ลำโพงที่ใช้ในระบบการขยายเสียงมีหลายชนิดและหลายแบบและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป ซึ่งอาจแบ่งได้หลายลักษณะ

1.แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง
2.แบ่งตามลักษณะการตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง
3.แบ่งตามลักษณะการนำมาใช้งาน
4.แบ่งตามสถานที่ที่ติดตั้ง

1.แบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายในของลำโพง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นแบบย่อย ๆ ได้ คือ
1. ลำโพงแบบไดนามิก (Dynamic Speaker) หรือแบบขดลวดแม่เหล็กเคลื่อนที่ (Moving Coil Speaker)
ลำโพงไดนามิก เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีอยู่ในอุปกรณ์เครื่องเสียงแทบทุกประเภท ตั้งแต่คุณภาพต่ำ ๆ จนกระทั่งคุณภาพสูงมาก ๆ มีค่าความต้าน ทาน 4, 8, 16 โอห์ม (Ohm) และกำลังตั้งแต่ 100 มิลลิวัตต์ จนถึง 150 วัตต์
2.ลำโพงริบบอน (Ribbon Speaker)

ลำโพงแบบนี้ จะให้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ๆ หรือเสียงแหลม ประมาณ 3,000 – 20,000 Hz
แต่กำลังความดังที่เปล่งออกมาน้อย

3ลำโพงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Speaker)
ลำโพงชนิดนี้จะให้คลื่นเสียงกว้างทุกย่านความถี่ของคลื่นเสียง (Full Range) ประมาณ 40 – 20,000 Hz. แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีมิติของเสียงไม่ดีเท่าที่ควร

4.ลำโพงไฮโปลิเมอร์ (Highpolymer)
ลำโพงแบบนี้ให้คลื่นเสียงในช่วงความถี่แคบ ไม่เหมาะกับงานทั่วไปที่ต้องการคุณภาพสูง นิยมทำลำโพงขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Earphone เพราะโครงสร้างไม่ซับซ้อน

2.แบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกของลำโพง อาจแบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้ 2 แบบย่อย ๆ คือ
1.ลำโพงตู้ (Cabinet Speaker) ส่วนมากเป็นลำโพงแบบไดนามิกลำโพงตู้ เป็นลำโพงที่มักจะใช้เฉพาะภายในเท่านั้น เพราะมีลักษณะบอบบาง ไม่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากนัก ส่งเสียงไปได้ไม่ไกล จึงไม่เหมาะกับงานภายนอก ยกเว้นลำโพงตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้กับงานสนาม ที่ทำให้มีความแข็งแรงทนทานเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเราอาจเรียกลำโพงพวกนี้ว่า ลำโพงตู้แบบรีแฟลกซ์ หรือ ลำโพงตู้ W
2.ลำโพงปากแตร (Horn) ลำโพงปากแตร เป็นลำโพงที่มักใช้ภายนอกอาคาร มีคุณสมบัติทนแดดทนฝน สามารถส่งเสียงไปได้ไกล ๆ แต่จะให้เฉพาะเสียงแหลมเท่านั้น จึงฟังไม่ไพเราะเหมือนลำโพงตู้หรือลำโพงกรวยกระดาษทั่ว ๆ ไป มักใช้กับงานกระจายเสียงทั่ว ๆ ไป หรือใช้ร่วมหรือเสริมลำโพงตู้เพื่อให้มีความดังมากขึ้น

3.แบ่งตามลักษณะการตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง อาจแบ่งได้เป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1. ลำโพงเสียงทุ้มต่ำหรือซับวูฟเฟอร์ (Sub Woofer)
2. ลำโพงเสียงทุ้มหรือวูฟเฟอร์ (Woofer)
3. ลำโพงเสียงทุ้มกลางหรือมิดเรนจ์เบส (Midrange/Bass)
4. ลำโพงเสียงกลางหรือมิดเรนจ์ หรือสโคเกอร์ (Midrange or Squawker)
5. ลำโพงเสียงแหลมหรือทวิตเตอร์ (Tweeter)
6. ลำโพงเสียงเต็มช่วงคลื่นหรือฟูลเรนจ์ (Full Range)
7. ลำโพงแบบผสม หรือมัลติเวย์ (Multiway Speaker)

4.แบ่งตามสถานที่ติดตั้งซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ
1. ลำโพงใช้งานภายในอาคาร (Indoor Speaker)
2. ลำโพงใช้ภายนอกอาคาร (Outdoor speaker)
3. ลำโพงใช้งานทั้งภายนอกและภายในอาคาร (Sound Column)

5.แบ่งตามลักษณะความเหมาะสมของสถานที่ในการใช้งานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์บางประการสามารถแบ่งได้ ดังนี้คือ
1. ห้องประชุม ควรติดตั้งลำโพงตู้ยาว (Sound Column)
2. โรงงาน ควรใช้ลำโพงปากแตรขนาดเล็ก
3. สนามกีฬากลางแจ้ง ใช้ลำโพงปากแตรที่มีประสิทธิภาพสูง
4. ภัตตาคารและห้างสรรพสินค้า ควรใช้ลำโพงติดเพดาน
5. สำนักงาน ควรใช้ลำโพงติดในเพดานหรือในผนัง


7.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ไมโครโฟนมาอย่างน้อย 3ชนิด
ตอบ
1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน



8.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้เครื่องขยายเสียงมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1. ศึกษารายละเอียดการใช้เครื่องขยายเสียงจากคู่มือการใช้ให้เข้าใจ
2. ต่อสายลำโพงให้ถูกต้องและแน่นหนา
3. ควรต่อสายดินเพื่อความปลอดภัย และคุณภาพเสียงที่ดี
4. ลดระดับเสียงให้ต่ำสุดก่อนเปิดและปิดสวิทช์
5. หากเป็นเครื่องขยายเสียงแบบสูญญากาศควรใช้พัดลมเป่าขณะใช้งานเพื่อระบายความร้อน
6. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าใช้ไฟฟ้ากระแสตรงหรือสลับ
7. ขณะเครื่องขยายเสียงทำงานไม่ควรถอดหรือต่อสายลำโพง
8. ไม่ติดตั้งที่ ๆ มีความร้อนหรือความชื้นสูง


9.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ลำโพงมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1. ควรเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับงาน
2. ควรใช้ลำโพงที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับเครื่องขยายเสียง
3. ควรต่อลำโพงให้มีขนาดของอิมพิแดนซ์ตรงกับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องเสียง
4. ควรต่อลำโพงให้ตรงเฟสกับขั้วเครื่องเสียง

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 3



1.จงบอกความหมายของคำว่า ระบบ ให้ถูกต้อง


ตอบ.ระบบ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นโดยที่ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นโดยส่วนต่างๆเหล่านั้น สามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือช่วยให้การทำงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


2.จงเขียนแบบจำลององค์ประกอบของระบบให้ถูกต้อง





3.จงบอกคุณค่าของการจัดการระบบได้อย่างน้อย 3ข้อ


ตอบ
1.เป็นการประกันในการดำเนินงาน โดยดำเนินงานไปตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ เช่น ด้านเวลา งบประมาณ และบุคลากร
2.ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะเป็นการช่วยลดการลงทุนที่ไม่จำเป็นซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ผู้นำระบบไปใช้สามารถพิจารณาผลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และสามารถปรับปรุงส่วนที่บกพร่องได้อย่างถูกต้องตลอดจนจะสามารถตรวจสอบได้ทุกส่วนย่อยในกระบวนการและสิ่งที่ป้อน
4.สามารถนำระบบที่ได้ทดลองใช้แล้ว ไปใช้ได้ในสภาพการณ์อื่นๆ โดยพิจารณาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่จะนำไปใช้ใหม่ จะช่วยในการประหยัดเวลา และการลงทุนในการสร้างระบบใหม่ขั้นทุกครั้ง




4.จงเขียนแบบจำลองของระบบการสอนของเกอร์ลัคและอีลายให้ถูกต้อง
ตอบGerlach-Ely Design Model





คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 10

1.ป้ายนิเทศมีลักษณะอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ ป้ายนิเทศ คือ แผ่นป้ายที่ใช้จัดแสดงทางการศึกษา หรือเป็นสื่อการเรียนการสอนใช้ถ่ายทอดความรู้ เรื่องราว ความคิด ข่าวสารโดยรูปภาพ แผ่นภาพ แผนภูมิ สถิติ ของจริง ของจำลองและอื่นๆ เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามลำพัง และเรียนรู้ได้ง่าย

2.จงบอกประโยชน์ของป้ายนิเทศมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
1. เป็นสื่อเร้าความสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
2. เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนทุกคนได้ศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยเนื้อหาที่

จัดแสดงไว้บนป้ายนิเทศ
3. เป็นสื่อที่ใช้ในระหว่างการสอนหรือใช้ในการทบทวนบทเรียน
4. เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
5. เป็นสื่อที่นักเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายนิเทศ



3.ป้ายนิเทศที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมา 5 ข้อ ตอบ

ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดี
1. ใช้ภาพเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
2. มีเรื่องราวครบบริบูรณ์แต่ไม่ควรจัดมากกว่า 1 เรื่อง
3. มีความต่อเนื่องกันและมีความกลมกลืนกัน
4. มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว จุดอื่นๆเป็นจุดรอง
5. สามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้ดูสนใจติดตามการเคลื่อนไหว
6. จัดให้มีภาพใกล้เคียงความจริง

4.จงอธิบายถึงการวางแผนในการจัดป้ายนิเทศมาทั้ง 7 ข้อ
ตอบ
1) ป้ายนิเทศ 1 ป้าย ควรแสดงเรื่องหรือความคิดเพียงเรื่องเดียว
2) ต้องมีชื่อเรื่อง โดยมีเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ และประดิษฐ์โดยใช้ตัวอักษร หรือวัสดุต่าง ๆ มาประกอบ หรือกระตุ้นและเร้าความอยากรู้ของผู้ดู
3) ควรวางแผนการจัดก่อนลงมือจัดจริง โดยคำนึงถึงหลักการออกแบบที่ดี การใช้ภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา ตลอดจนใช้วัสดุอื่น ๆ มาใช้ประกอบ

4) ใช้สีหรือทำให้น่าสนใจ ทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาหรือการจัดทำพื้นป้าย
5) ใช้เส้นหรือทิศทางการจัดวาง เพื่อเป็นเครื่องช่วยนำสายตาของผู้ดูให้เกิดการรับรู้ที่ต่อเนื่องกัน
6) ควรมีข้อความหรือคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ เพื่อให้ผู้ดูสามารถเรียนรู้สาระจากป้าย การใช้ตัวอักษรในส่วนนี้ ควรมีลักษณะที่อ่านง่าย ชัดเจน
7) ควรมีการประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของการจัดป้าย


5.หลักเกณฑ์ในการจัดป้ายนิเทศมีอะไรบ้างจงยกมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
1.การกระตุ้นความสนใจ
2การมีส่วนร่วม
3การตรึงความสนใจ
4.ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
5.การเน้น
6.การใช้สี

6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดสื่อวัสดุ 3 มิติมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ

1.หุ่นจำลอง (Models) หุ่นจำลองเป็นวัสดุ 3 มิติที่สร้างขึ้นเฟื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริง ที่ไม่สามารถจะนำมาแสดงได้โดยตรง มีการจัดทำหลายประเภท เช่น หุ่นจำลองแสดงลักษณะภายนอก หุ่นจำลองเหมือนของจริง หุ่นจำลอง แบบขยายหรือแบบย่อ หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ และหุ่นจำลองเลียนแบบของจริง เป็นต้น (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 149- 150) การใช้หุ่นจำลองเป็นสารนิเทศนี้ นิยมใช้ในการเรียนการสอน เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอนประกอบการเรียนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพราะทำให้ง่ายต่อความเข้าใจและเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาลักษณะ และการทำงานของของจริงได้ง่ายขึ้น
2. ของจริง / ของตัวอย่าง
แสดงคุณลักษณะต่างๆได้ตรงตามสภาพจริงเป็นลักษณะ 3มิติที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือสามารถจับต้อง พิจารณารายละเอียดต่างๆได้อย่างชัดเจน

3.ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 9

1.วัสดุกราฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง

2.จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1. ราคาถูก
2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
4. เก็บรักษาง่าย 5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้

3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3ข้อ
ตอบ
1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
3. ประหยัดเวลา
4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น

4.วัสดุกราฟฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3ข้อ
ตอบ
1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ
2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน
3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ
4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ
5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม

5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1. ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
2. การออกแบบโดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งานโดยมุ่งที่จะได้รับจากการใช้วัสดุกราฟิกเพื่อการสื่อความหมายสำคัญ
3. การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน
4. คำนึงถึงความประหยัดทั้งเงินงบประมาณและเวลาในการจัดทำ
5. มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ พื้นผิว เส้น สี เป็นต้น
6. มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง

6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ
1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ นื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น

ลักษณะแผนภูมิที่ดี
1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา

เทคนิคการนำเสนอ
1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้

2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล

ลักษณะแผนสถิติที่ดี
1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ
2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ
แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph) เสนอข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าแบบอื่นๆ แสดงแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาได้อย่างชัดเจน
2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph) เป็นแบบที่ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจง่ายกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางแผนสถิติแบบแท่ง ผลดีในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบไม่เกิน 4-5 ชนิด
3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph) ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนว่าเป็นอย่างไรของปริมาณทั้งหมดแผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อมกัน
4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ใช้แสดงผลิตผลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แผนสถิติแบบนี้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ แต่ไม่ให้รายละเอียดมากนัก
5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph) เป็นการใช้พื้นที่แสดงปริมาณของตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบ แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ

3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงานเช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น

ลักษณะแผนภาพที่ดี
1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน
3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน
4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ

เทคนิคการนำเสนอ
1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน
2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน
4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ
5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

7.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุฉายมาอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ
1. ภาพโฆษณาหรือภาพโปสเตอร์ ภาพโปสเตอร์เป็นทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นชักชวน จูงใจ สร้างความประทับใจให้เกิดความประทับใจ ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาต่อไป

ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
2. เด่นมองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความสั้นกระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. สื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะห่างพอสมควร

2. รูปภาพ (Picture) ลักษณะรูปภาพประกอบการสอนที่ดี
1. มีความหมายให้รายละเอียดตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
2. เป็นภาพที่คุ้นเคยกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
3. เป็นภาพที่ตรงกับความเป็นจริง ทันสมัย ประณีต
4. เป็นภาพที่สื่อความหมายได้ดี
5. มีสาระในภาพเพียงเรื่องเดียว
6. ควรเป็นภาพที่ถูกหลักการออกแบบ และมีคุณภาพทางเทคนิคดี
7. มีหัวเรื่องและมีคำอธิบายประกอบภาพ ข้อดีและข้อจำกัดของรูปภาพ

ข้อดี
1. ทำประสบการณ์นามธรรมเป็นรูปธรรมได้
2. ราคาถูกจัดหาได้ง่าย เร้าความสนใจได้ดี
3. สามารถดัดแปลงให้เป็นสื่ออื่น ๆ ได้อีกมาก
4. ครอบคลุมเนื้อหาได้หลาย ๆ วิชา
5. ศึกษารายละเอียดได้โดยใช้เวลานานเท่าที่ต้องการ
6. ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้แทบทุกชนิด
7. ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน

ข้อเสีย
1. รูปภาพอาจมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่
2. ขาดมิติของความลึก ทำให้ดูไม่สมจริงสมจัง
3. ชำรุดฉีกขาดง่าย

เทคนิคการนำเสนอด้วยรูปภาพ
1. ใช้รูปภาพให้ตรงกับจุดหมายที่ตั้งไว้
2. ไม่ควรนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพพร้อมกัน
3. ควรติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
4. อาจสร้างความสนใจด้วยการปิด - เปิดทีละส่วน
5. ใช้ควบคู่กับสื่ออื่น ๆ ได้ เช่น วีดีทัศน์ แผนภูมิ ของจริง
6. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ตอบคำถาม เล่าเรื่องจากภาพ
7. รูปภาพที่ดี ๆ มีคุณค่า ควรผลึก หรือใส่กรอบให้แข็งแรง
8. เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บรักษาไว้หมวดหมู่เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5

จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง
1.การรับรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ...กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสเข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี

2.อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ
ตอบ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย

3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่
- อาการรับสัมผัส
- อาการแปลความหมายของอาการสัมผัส
-ประสบการณ์เดิม

4.ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง
- การเลือกที่จะรับรู้
- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าอย่างมีแบบแผน
- ความต่อเนื่อง
- ความสมบูรณ์

5.สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่
- สิ่งเร้าภายนอก
- สิ่งเร้าภายใน
- คุณลักษณะของสิ่งเร้า

6.การเรียนรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ก่อนข้างถาวร และพฤติกรรมนี้เป็นผลจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่การตอบสนองจากธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ เป็นต้น

7.จงเขียนแผนภูมิการแบ่งกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ให้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้
1.กลุ่มทฤษฎีสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
1.1ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
1.2ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
1.2.1)การเรียนรู้แบบคลาสิค
1.2.2)การเรียนรุ้แบบจงใจกระทำ
2.กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ
2.1Gestalt T
2.2Field T8
3.บลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่
- พุทธพิสัย
- จิตพิสัย
- ทักษะพิสัย

9.สภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี 4 ประการ คือ
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
- ป้อนข้อมูลย้อนกลับทันที
- จัดประสบการณ์ที่เป็นผลสำเร็จ
- การประมาณการที่ละน้อย

10.จงเขียนแผนภูมิกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ให้ถูกต้องการรับรู้ตามแนวพุทธศาสตร์
1.อวัยวะรับสัมผัส}การรับสัมผัส การรับรู้ ความรู้สึก ความจำ ความคิด
2.สิ่งเร้าภายนอก}

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1.คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน

2.การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการสั่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกต่างๆ
ตลอดจนประสบการณ์จากฝ่ายหนึ่ง(ผู้ส่งสาร)สู่อีกฝ่ายหนึ่ง(ผู้รับสาร)

3.Sender --> Message --> Channel --> Reciever

4.สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด

5.Elemnts หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ...ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ หรือสีแดงสีเหลือง เส้น เป็นต้น

6.Structure หมายถึง โครงสร้างที่นำองค์ประกอบย่อยมารวมกัน ...ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือ สีของรูปร่าง รูปทรง

7.Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง ...ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร

8.Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...ตัวอย่างเช่น ใช้ Style ในการสื่อความหมาย

9.Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ...ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง
10.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด

11.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล อาการเจ็บป่วย

12.Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้

13.Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม

14.จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง

กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้ ครู --> เนื้อหา หลักสูตร --> สื่อหรือช่องทาง --> นักเรียน
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน

1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน
2.ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
3.ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
4.ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ
5.ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน
6.ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.จงอธิบายความเป็นมาของวัสดุกราฟฟิคมาพอเข้าใจ

ตอบ งานกราฟิกมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังตัวอย่างที่พบ คือ ภาพวาดบนผนังถ้ำของมนุษย์โบราณ ที่แสดงออกถึงพิธีกรรมหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การล่าสัตว์ การบวงสรวง จำนวนและชนิดของสัตว์ ในปัจจุบันสังคมมนุษย์ได้ใช้งานกราฟิกในเกือบทุกกิจกรรม เช่น การศึกษา การออกแบบการทดลอง การนำเสนอข้อมูลการแสดงออกทางศิลปะ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ ภาพยนตร์และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลทำให้การสร้างและใช้งานกราฟิกสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก งานกราฟิกจึงมีความสำคัญและมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์การสื่อความหมายระหว่างมนุษย์เป็นกิจกรรมทางสังคมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายและมีความแตกต่างกันตามความเจริญของสังคมมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยมนุษย์ยุคเริ่มแรกยังไม่มีภาษาและสัญลักษณ์จึงใช้ของจริงและสภาวะจริงรอบตัวในการสื่อความหมายต่อกันเช่น การบอกแหล่งอาศัยของสัตว์ จะใช้วิธีวิ่งนำหน้าเพื่อนไปยังแหล่งที่มีสัตว์อยู่แล้วชี้ให้เห็นวิธีการนี้จะยุ่งยากและเยิ่นเย้อ เพราะไม่มีสัญลักษณ์หรือเครื่องมือช่วยย่อให้กระบวนการสื่อความหมายสั้นและกระชับจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อประมาณล้านปีมาแล้ว มนุษย์โฮโมอีเร็คทุส (Homo Erectus) ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ลำตัวตั้งตรง ยังไม่มีภาษาใช้ ได้ใช้ท่าทางและสิ่งของตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน กิ่งไม้ และกระดูกสัตว์ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายต่อกัน เช่น การสื่อความหมายถึงแหล่งล่าสัตว์ชนิดใดจะทำโดยการยกชูกระดูกของสัตว์ชนิดนั้น แล้วชี้ไปยังทิศทางที่มีสัตว์ชนิดนั้นอาศัยอยู่

2.จงบอกความหมายและคุณค่าของงานกราฟฟิคให้ถูกต้องและครอบคลุม

ตอบ ความหมาย กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ

1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน

2. Graphein หมายถึง การเขียนต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้........กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

คุณค่าของวัสดุกราฟฟิค

1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ถูกต้องและชัดเจน

2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

3. ช่วยทำให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น

4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

5. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม และพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



3.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในงานกราฟิคมาอย่างน้อย 4 ประเภท

ตอบ บัตรคำ

วัสดุที่ใช้ในงานกราฟิค กระดาษ สี ดินสอ ปากกา วัสดุอื่นๆ

1.กระดาษกระดาษโปสเตอร์ เป็นกระดาษพื้นสีที่มีเยื่อกระดาษไม่เหนียวมาก ใช้กับงานโฆษณาป้ายนิเทศ

ซึ่งมี 2ชนิด คือ ชนิดหนา ชนิดบาง

กระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับทำบัตรดำแผนภูมิ แผนภาพ พื้นภาพผนึกกระดาษวาดเขียน เหมาะกับวาดภาพด้วยดินสอ ปากกา และสีน้ำ

กระดาษชาร์ทส์ เป็นกระดาษที่มีผิวเรียบ เหมาะกับการจัดป้ายนิเทศ ฉีกปะติดกระดาษอาร์ตมันเหมาะกับใช้พิมพ์ปกหรือภาพประกอบหนังสือกระดาษปอนด์ ใช้กับงานพิมพ์เอกสารทุกระบบเขียนด้วยปากกาเมจิกและโปสเตอร์ได้ดีไม่เหมาะกับการระบายสีน้ำหรือโปสเตอร์

กระดาษลูกฟูก เหมาะกับทำสื่อการสอนประเภทกล่องหรืองานโครงสร้างรูปร่างรูปทรงที่คงทน

2.สี

จำแนกตามคุณลักษณะสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม ได้แก่ สีเชื้อน้ำ สีเชื้อน้ำมันสีเชื้อน้ำ เป็นสีที่ใช้น้ำ เป็นส่นผสมสีน้ำ บางใส่ชนิดเหลวบรรจุในหลอดส่วนชนิด แห่งบรรจุในกล่อง ใช้ระบายภาพบนกระดาษสีขาวหรือกระดาษวาดเขียนเท่านั้น

สีโปสเตอร์ เป็นสีมีเนื้อสีหยาบกว่า ใช่ง่ายเหมาะกับการทำสื่อ การสอนได้ดี

สีพลาสติก เป็นสีเชื้อน้ำที่มีเนื้อสีหยาบและเข้มกว่า เป็นสีที่ทนทานต่อแสงแดดและฝนเหมาะใช้งานกับพื้นที่กว้างใหญ่

สีฝุ่น เป็นสีที่มีเนื้อสี เป็นผง ราคาถูกสีหมึก เป็นทั้งโปร่งแสงทึบแสงสีเชื้อน้ำมัน เป็นสีที่ใช้มันเป็นส่วนผสมหรือละลายได้

3.วัสดุขีดเขียนแบ่ง 2 ประเภท

3.1 วัสดุแข็ง ได้แก่ ปากกาและดินสอ

3.1.1 ปากกาปลายแหลม ทำด้วยโลหะ ใช้จุ่มหมึกเขียนลายเส้นได้ขนาดเล็กมาก เหมาะกับงานต้นแบบลายเส้น

3.1.2 ปากกาปลายสักหลาด ทำด้วยสักหลาดแข็ง

3.1.3 ปากกาเขียนแบบ ปากกาคุณภาพดี ใช้กับหมึกที่มีความเข็มกว่าหมึกทั่วๆไป

3.1.4 ปากกาเขียนทั่วไป ใช้จดบันทึก และเขียนภาพลายเส้น

3.1.5 ดินสอดำ ใช้งานร่างแบบเขียนรูป ภาพลายเส้น ภาพแรงเงา

3.2 วัสดุอ่อน เช่น พู่กัน แปรงทาสี และลูกกลิ้ง

3.2.1 พู่กัน ใช้ได้ทั้งเชื้อน้ำและเชื้อน้ำมัน มี2 แบบ พู่กันกลม ใช้ตรวจภาพระบายสี พู่กันแบนเป็นพู่กันด้ามยาวใช้ในการเขียนตัวอักษร
3.2.2 แปรงทาสี เป็นวัสดุที่มีขนแปลงแข็งด้ามสั้น ใช้กับงานพื้นที่กว้างๆ

3.2.3 ลูกกลิ้ง เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นล้อหมุนหุ้มสวมด้วยผ้า หรือใยสังเคราะสำหรับดูดซับสี

4. วัสดุอื่นๆเช่น ไม่ฉากชุด ไม้ที มีดตัดกระดาษ กาวน้ำ กระดาษกาว เทปกาว กรรไกร ไม้บรรทัดภาพการ์ตูนเป็นภาพที่นิยมนำมาใช้ประกอบสื่อทัศนวัสดุต่างๆการ์ตูน คือ ภาพลายเส้นหรือภาพวาดที่มีลักษณะผิดเพื้อนความจริง แต่ก็ยังยึดหลักเกณฑ์ของความจริงอยู่บ้าง



4.จงอธิบายความหมายของการออกแบบมาให้เข้าใจ

ตอบ การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบโดยการวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และการผลิต





5.จงยกตัวอย่างส่วนประกอบของการออกแบบมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ


1.เส้น(Line)

2.รูปร่าง, รูปทรง (Shape, Form)

3.ลักษณะผิว (Texture)

4.บริเวณว่าง (Space)

5.แสงและเงา (Light & Shade)

6.สี (Color)

7.สัดส่วน(Propotion)

8.การเคลื่อนไหว(Movement)